สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล (สิทธิเฉพาะตัว)

ลูกจ้างสามารถสำรองจ่ายและนำใบเสร็จมาเบิกกับทางมหาวิทยาลัย ได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน

  1. โรงพยาบาลรัฐ : อัตราตามหลักเกณฑ์และอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
  2. โรงพยาบาลเอกชน : ผู้ป่วยนอกไม่สามารถเบิกได้ หากเป็นผู้ป่วยในสามารถเบิกได้ครึ่งหนึ่งที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 8,000 บาท

<aside> 💡 หมายเหตุ : ยานอกบัญชีจะต้องมีใบรับรองแพทย์ประกอบว่าแพทย์สั่งจ่ายยาจริง

</aside>

🏥 สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

https://hrm.kmutt.ac.th/rules/index.php?ID=875

ค่าทำฟัน (สิทธิเฉพาะตัว)

ทำได้ทั้งอุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน และรักษารากฟัน ค่า X-ray ในกระบวนการรักษา โดยลูกจ้างสามารถสำรองจ่ายและนำใบเสร็จมาเบิกกับทางมหาวิทยาลัย ได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน

  1. โรงพยาบาลรัฐ : เบิกได้ตามที่จ่ายจริง โดยต้องหลักฐานประกอบการเบิก คือ ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และใบรับรองแพทย์ฉบับจริง
  2. โรงพยาบาลเอกชน เบิกได้ตามจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 3,000 บาท/ ปีงบประมาณ โดยต้องหลักฐานประกอบการเบิก คือ สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งสถานทันตกรรม ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และใบรับรองแพทย์ฉบับจริง

🏥 สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

https://hrm.kmutt.ac.th/rules/index.php?ID=875

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ตามความสมัครใจ)

หลังจากเซ็นสัญญาจ้างและมีชื่อในระบบแล้ว ลูกจ้างสามารถสมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ ตามความสมัครใจของแต่ละบุคคล โดยเงินสมทบจะนับอายุการเป็นสมาชิก ไม่ใช่อายุการทำงาน มีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังนี้

  1. ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยสะสม 2- 15% ของอัตราเงินเดือน หน่วยงานสมทบเท่าที่ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยสะสม แต่ไม่เกิน 3% ของอัตราเงินเดือน
  2. การจ่ายเงินคืน เมื่อสิ้นสมาชิกภาพจากกองทุน จะได้รับเงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ดังนี้
  3. สมาชิกเปลี่ยนแผนการลงทุนได้ปีละ 4 ครั้งไม่กำหนดช่วงเวลา ผ่านระบบ “KTAM” หรือ Application “KTAM PVD FUND” ได้ทั้งระบบ iOS และ Android
  4. กำหนดเวลาการเปลี่ยนอัตราเงินสะสมของสมาชิกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถเปลี่ยนได้ปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 สมาชิกเปลี่ยนอัตราเงินสะสมในเดือนมิถุนายน และให้มีผลในเดือนกรกฎาคม ครั้งที่ 2 สมาชิกเปลี่ยนอัตราเงินสะสมในเดือนธันวาคม และให้มีผลในเดือนมกราคมของปีถัดไป

🏥 สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนได้ที่ :